วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เพลงกล่อมเด็ก

เพลงกล่อมเด็กเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นอาภรณณืแห่งการใช้ภาษาในการสั่งสอน อบรม
ลูกหลานให้เป็นคนดี โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ยังเป็นทารก เป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างพ่อแม่กับบุตรธิดา
หรือปู่ย่าตายายกับลูกหลาน แม้ในปัจจุบันความนิยมใช้เพลงกล่อมเด็กจะลดน้อยลง เกือบจะหาฟังได้ยากแต่ก็ยังทรงคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์และการอบรม
สั่งสอนลูกหลานให้เป็นคนดี ขอยกตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ดังนี้

เพลงไกแจ้
ฮา.......เอ้อ.......เหอ.........เออะ
ไก้แจ้เหอ ว่ายน้ำซ้อแซ่ไปขอเมีย
ขันหมาหหมั้นลอยน้ำเสีย ทำพรือได้เมียละไกแจ้
มาแว้เริ่นน้อง ให้เงินให้ทองสองสามแคร่
ทำพรือได้เมียละไกแจ้ มาแว้เริ่นน้อง...กอน....เอ้อ....เหอ....เออะ.


เพลงกล่อมน้องนอน
ฮา...เอ้อ....เหอ...เออะ
น้องนอนเหอ นอนให้หลับดี
แม่ซื้อทั้งสี ช่วยคุมพิทักษ์มารักษา
อาบน้ำป้อนข้าว มารักษาเจ้าทุกเวลา
ช่วยคุมพิทักษ์มารักษา ให้แด็กออนนอนใน...เปล...เออะ


เพลงลูกสาวชาวบ้านนี้
ฮา...เอ้อ...เหอ...เออะ
ลูกสาวเหอ ลูกชาวบ้านนี้
หน้าตาดีดี ขี้ร้องขี้ร่ำ
ทำพรือละลูกสาวเหอ ให้เขาตียังค่ำ
ขี้ร้องขี้ร่ำ ยังค่ำทุกวัน...ไป....เอ้อ...เหอ...เออะ

พิษณุพงศ์เชาวเหม: การเล่นเพลงบอก

พิษณุพงศ์เชาวเหม: การเล่นเพลงบอก: "การเล่นเพลงบอก เพลงบอกเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ที่แสดงออกถึงศิลปะในการใช้ภาษาสื่อสารในเรื่องต่างๆ เพลงบอกนอกจากจะเป็นการละเล่นที่..."

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเล่นเพลงบอก

การเล่นเพลงบอก
เพลงบอกเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ที่แสดงออกถึงศิลปะในการใช้ภาษาสื่อสารในเรื่องต่างๆ
เพลงบอกนอกจากจะเป็นการละเล่นที่เป้นเอกลักษณ์เฉพาะปักษ์ใต้แล้ว เพลงบอกยังเป็นอาภรณ์แห่งภาษา
อันมีค่ายิ่งซึ่งควรอนุรักษ์ไว้ให้สืบไป

ตัวอย่างกลอนเพลงบอก
สิบนิ้วน้อมค้อมคำนับ ผมมาขานขับเพลงบอก
เพื่อนร่วมกันทอกกลอนโชว์ ยกขึ้นเป็นโวหาร
ไหว้พระพุทธสุดประเสริฐ พระผู้ก่อเกิดโพธิญาณ
โอฆสงสารข้ามล่วง ชี้ทางแก่ปวงชน
ทั้งพระธรรมคำสั่งสอน พระชินวรณ์ตรัสไว้
ชาวโลกก็ได้รู้จัก ช่วยให้เกิดมรรคผล

เพลงบอก ๑ บท มี ๔ วรรค
จำนวนคำในวรรค เป็น ๖ / ๖ / ๖ / ๕

การสัมผัสภายในบทเดียวกัน
คำสุดท้ายวรรคแรก ส่งสัมผัสไปยัง คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๒ ( นับ - ขับ )
คำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยัง คำที่ ๔ ของวรรคที่ ๓ ( บอก - ทอก )
คำสุดท้ายวรรคที่ ๓ ส่งสัมผัสไปยัง คำที่ ๔ ของวรร๕ที่ ๔ ( โชว์ - โว )

การสัมผัสระหว่างบท
คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ ของบทที่ ๑ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายวรรคที่ ๒ ของบทที่ ๒
แต่ระหว่างบทที่ ๒ กับบทที่ ๓ จะสัมผัสไม่เหมือนบทที่ ๑ กับบทที่ ๒ คือ
คำสุดท้ายวรรคที่ ๔ ของบทที่ ๒ จะส่งสัมผัสข้ามไปยังคำสุดท้ายวรรคที่ ๔
ของบทที่ ๓
บทต่อๆไปก็จะเวียนมาเหมือนบทที่ ๑ กับบทที่ ๒ และสลับเหมือน บทที่ ๒กับบทที่ ๓
ไปเรื่อยๆจบจบคำกลอน

จำนวนผู้เล่นเพลงบอก
เพลงบอก ๑ คณะ จะประกอบด้วย
แม่เพลง ๑ คน มือฉิ่ง ๑ คน และลูกคู่อีก ๒ - ๓ คน รวมทั้งคณะจะมีประมาณ
๕ คน มือฉิ่งก็ถือว่าเป็นลูกคู่ด้วย

การเล่นเพลงบอก
๑. เมื่อเริ่มเล่น แม่เพลงจะว่า ออ...ออ...ออ...หอ...หอ...
ลูกคู่ก็จะตีฉิ่ง ฉิ่ง...ฉิ่ง...ฉิ่ง...ฉิ่ง...ฉิ่ง...แล้วรัวฉิ่งต่อไปจนหมดหางเสียงของแม่เพลง
๒. แม่เพลงว่าวรรคแรก สิบนิ้วน้อมค้อมคำนับ
ลูกคู่รับว่า เอ้ ว่า เห ค้อมคำนับ
มือฉิ่งจะตี ฉิ่ง ฉับ ฉิ่ง ฉับ (โดยตีให้เข้ากับจังหวะร้องและจังหวะรับตลอดไป )
๓. แม่เพลงจะว่าวรรคแรกอีกครั้งหนึ่ง สิบนิ้วน้อมค้อมคำนับ
ลูกคู่รับว่า ว่า ทอย ช้า ฉ้า เหอ คำนับ
๔. แม่เพลงว่าวรรคที่ ๒ ผมมาขานขับเพลงบอก
ลูกคู่รับว่า เพลงบอก
๕. แม่เพลงว่าวรรคที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง ผมมาขานขับ
ลูกคู่รับว่า ใช่แล้ว เพลงบอก
๖. แม่เพลงว่าวรรคที่ ๓ เพื่อนร่วมกันทอกกลอนโชว์
ลูกคู่รับ กลอนโชว์
๗. แม่เพลงว่าวรรคที่ ๔ ยกขึ้นเป็นโวหาร
ลูกคู่รับ ยกขึ้นเป็นโวหาร เพื่อนร่วมกันทอกกลอนโชว์ ยกขึ้นเป็นโวหาร
บทต่อๆไปก็จะว่าและรับลักษณะเดียวกันนี้จนจบคำกลอน